วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ไต คืออะไร

ไตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback)
ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ[1] มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนีบ

ตับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับอะไร

ตับ เป็นอวัยวะที่พบในสัตว์ชนิดต่างๆ และมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึม รวมทั้งมีหน้าที่หลายประการในร่างกาย เช่นการสะสมไกลโคเจน การสังเคราะห์โปรตีนในพลาสมา การกำจัดพิษของยา และปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆมากมาย ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยตับจะผลิตน้ำดี ซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการย่อยอาหาร ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่าhepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ

กายวิภาคศาสตร์[แก้]

พื้นผิวของตับจากทางด้านบน
ไฟล์:Gray1087.png
พื้นผิวของตับจากทางด้านหลัง
ตับของผู้ใหญ่ปกติจะมีน้ำหนักราว 1.3 ถึง 3.0 กิโลกรัม และมีจะลักษณะนุ่ม มีสีชมพูอมน้ำตาล ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากผิวหนัง และเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ตับจะวางตัวอยู่ทางด้านขวาบนของช่องท้อง และอยู่ใต้กะบังลม นอกจากนี้บางส่วนของตับยังวางอยู่บนกระเพาะอาหาร ปลายทางด้านซ้ายสุดของตับจะชี้ไปทางม้าม และบนพื้นผิวด้านหน้าของตับยังมีถุงน้ำดีวางตัวอยู่อีกด้วย
พื้นผิวของตับเกือบทั้งหมดจะถูกคลุมด้วยเยื่อบุช่องท้อง ซึ่งเป็นเยื่อบุสองชั้นที่คลุมอยู่บนอวัยวะต่างๆทางด้านหน้าของช่องท้องเพื่อลดการเสียดสีระหว่างอวัยวะ นอกจากนี้จะพบว่าที่บริเวณตับ จะมีการพับของเยื่อบุช่องท้องเข้ามาภายในตับ และแบ่งตัวออกเป็นสองพูใหญ่ๆ เยื่อดังกล่าวนี้เรียกว่า ฟอลซิฟอร์ม ลิกาเมนต์ (falciform ligament) ซึ่งจะยึดตับไว้กับผนังช่องท้องทางด้านหน้า เมื่อมองจากทางด้านบนจะพบว่า ฟอลซิฟอร์ม ลิกาเมนต์นี้จะแยกตัวออกเป็นไทรแองกูลาร์ ลิกาเมนต์ ทั้งด้านซ้ายและขวา เพื่อยึดตับไว้กับกะบังลม

กลีบของตับ[แก้]

ในทางมหกายวิภาคศาสตร์ จะแบ่งตับออกเป็นสี่กลีบ (lobes) ตามลักษณะที่ปรากฏบนพื้นผิว โดยเมื่อมองตับจากทางด้านหน้า จะเห็นว่าตับถูกแบ่งออกเป็นกลีบซ้าย (left lobe) และกลีบขวา (right lobe) หากมองตับจากทางด้านหลัง จะพบว่ามีอีกสองกลีบ คือ กลีบคอเดต (caudate lobe) ซึ่งอยู่ทางด้านบน และกลีบควอเดรต (quadrate lobe) ซึ่งอยู่ทางด้านล่าง ซึ่งทั้งสองกลีบดังกล่าวนี้จะแบ่งแยกออกจากกันโดยร่องแนวขวาง (transverse fissure) หรือเรียกว่า พอร์ตา เฮปาติส (porta hepatis) ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นทางผ่านของหลอดเลือดและท่อน้ำดีของตับ ทั้งกลีบคอเดตและกลีบควอเดรตนี้จะถูกแบ่งออกจากกลีบซ้าย โดยแนวของลิกาเมนตุม วีโนซุม (ligamentum venosum) และลิกาเมนตุม เทเรส เฮปาติส(ligamentum teres hepatis) ซึ่งเป็นโครงสร้างของหลอดเลือดตับในระยะเอมบริโอ ส่วนทางขวาจะมีรอยบุ๋มที่มีหลอดเลือดดำอินฟีเรียร์ เวนาคาวา(inferior vena cava) พาดผ่าน และแบ่งกลีบขวาออกจากกลีบคอเดตและกลีบควอเดรต

การไหลเวียนของเลือดในตับ[แก้]

ตับจะได้รับเลือดที่มีออกซิเจนสูงมาทางหลอดเลือดแดงตับ (hepatic artery) นอกจากนี้ยังมีเลือดที่นำมาจากลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และตับอ่อนผ่านทางหลอดเลือดดำซุพีเรียมีเซนเทอริค (superior mesenteric vein) และเลือดจากม้ามผ่านทางหลอดเลือดดำม้าม (splenic vein) ซึ่งหลอดเลือดดำทั้งสองจะรวมกันเป็นหลอดเลือดดำพอร์ทัล (portal vein) แล้วเข้าสู่ตับเพื่อนำสารอาหารและสารเคมีอื่นๆที่ได้จากการดูดซึมจากทางเดินอาหาร และผลผลิตจากการทำลายเม็ดเลือดแดงจากม้าม เข้าสู่กระบวนการต่างๆภายในเซลล์ตับต่อไป สำหรับหลอดเลือดดำที่นำเลือดออกจากตับ คือหลอดเลือดดำตับ (hepatic vein) ซึ่งจะเทเลือดเข้าสู่หลอดเลือดดำอินฟีเรียร์ เวนาคาวา ต่อไป

ระบบน้ำดีภายในตับ[แก้]

น้ำดีจะถูกสร้างขึ้นจากเซลล์ตับแต่ละเซลล์และส่งออกมาจากท่อน้ำดีย่อย (bile canaliculi) ซึ่งจากนั้นท่อน้ำดีย่อยแต่ละท่อจะรวมกันเป็นท่อน้ำดีตับ (hepatic bile ducts) ซึ่งมีทั้งซ้ายและขวา แล้วจึงรวมกันเป็นท่อน้ำดีใหญ่ในตับ (common hepatic bile duct) ก่อนจะส่งไปทางท่อน้ำดีใหญ่ (common bile duct) ซึ่งน้ำดีอาจถูกปล่อยออกสู่ลำไส้เล็กตอนต้น หรือเก็บสะสมไว้ในถุงน้ำดี

สรีรวิทยาของตับ[แก้]

หน้าที่ต่างๆของตับจะอาศัยการทำงานของเซลล์ตับ ซึ่งมีหน้าที่หลากหลาย ดังนี้

โรคของตับ[แก้]

โรคที่เป็นความผิดปกติของตับมีอยู่หลายโรคด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นโรคทางพันธุกรรม หรือโรคที่เกิดจากการได้รับเชื้อหรือสารพิษต่างๆ ตัวอย่างของโรคที่เกี่ยวกับตับ ได้แก่
อาการเบื้องต้นของโรคตับ คือดีซ่าน (jaundice) ซึ่งเป็นภาวะที่มีบิลิรูบินจำนวนมากในกระแสเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากเซลล์ตับไม่สามารถแปรรูปบิริรูบินไปเป็นสารอื่นเพื่อส่งออกทางน้ำดีได้ ทั้งนี้เป็นเพราะเซลล์ตับเกิดความผิดปกติหรือตายนั่นเอง

การดูแลรักษาตับ[แก้]

  • ไม่ดื่มสุรา เบียร์ หรือของมึนเมา
  • ไม่ควรรับประทานยาพร่ำเพรื่อ เพราะสารเคมีจะทำลายตับได้
  • ระวังอย่าสูดดมพวกละอองสเปรย์ต่างๆ
  • สวมถุงมือ ใส่เสื้อแขนยาว สวมหมวกและหน้ากากทุกครั้งที่พ่นหรือผสมยาฆ่าแมลง
  • ไม่สำส่อนทางเพศ
  • ไม่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
  • ไม่รับประทานอาหารดิบหรือสุกๆ ดิบๆ
  • รับประทานอาหารที่สะอาดและน้ำต้มสุก มีภาชนะปิดอย่างมิดชิด
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ม้าม มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับอะไร

ม้ามคืออะไร
ม้ามเป็นอวัยวะอยู่ในช่องท้องด้านซ้ายส่วนบน ปรกติจะมีชายโครงบังอยู่คลำไม่ได้ภายในม้ามมีช่องทางที่ซับซ้อนคดเคี้ยวซึ่งเลือดต้องไหลเวียนผ่านเข้าไป 

หน้าที่ของม้าม
แม้ว่าม้ามจะมีขนาดเล็กแต่มีหน้าที่สำคัญเพราะเป็นที่ดักจับกำจัดเชื้อโรคเป็นที่กำจัดเม็ดเลือดแดง แก่ๆ ที่กำลังจะตายตามอายุขัย และทำลายเม็ดเลือดที่มีรูปร่างผิดปรกติ เช่น เม็ดเลือดแดงป่องกลม (ในโรคเม็ดเลือดแดงป่องกลมพันธุกรรม เม็ดเลือดแดงรูปร่างแปลกๆ ที่พบในโรคธาลัสซีเมียเป็นต้น ในโรคธาลัสซีเมียเม็ดเลือดแดงจะมีอายุสั้น แตกเร็วกว่าเม็ดเลือดแดงปรกติมาก


ม้าม (spleen) เป็นอวัยวะในร่างกายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีรูปทรงเรียวรี คล้ายเมล็ดถั่ว เป็นอวัยวะที่ขจัดเชื้อโรคและเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้ว
ออกจากกระแสเลือด ม้ามจะอยู่บริเวณช่องท้องส่วนบน ใต้กะบังลมทางซ้าย และอยู่ใกล้กับตับอ่อน และไตซ้าย ถูกยึดติดไว้กับเยื่อบุช่องท้อง 
ม้ามมีขนาดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยในวัยผู้ใหญ่ ม้ามจะมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร (ประมาณ 5 นิ้ว) และจะมีความกว้าง
ประมาณ 10 เซนติเมตร (4 นิ้ว) และหนาประมาณ 3.8 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว) และมีน้ำหนักประมาณ 200 กรัม (7 ออนซ์) หลอดเลือดที่เข้าสู่ม้ามคือ 
หลอดเลือดสเปลนิกอาร์เตอร์รี่ (splenic artery) และเลือดจากม้ามจะไหลเข้าสู่ตับ

สรีรวิทยาของม้าม
ม้ามทำหน้าที่ในการดึงเอาธาตุเหล็กจากฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดง นำมาใช้ในร่างกาย และยังทำหน้าที่เอาของเสียออกจากกระแสเลือด
ในรูปของน้ำปัสสาวะเช่นเดียวกับที่ตับ ม้ามสร้างแอนตีบอดี ในการต่อต้านเชื้อโรค และยังผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงขึ้นมาใหม่ได้ด้วย 
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด (ยกเว้นมนุษย์) ม้ามจะทำหน้าที่เก็บเซลล์เม็ดเลือดแดง และส่งไปยังกระแสเลือด เพื่อควบคุมปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดง 
ในกรณีที่เสียเลือดมาก ในทารกที่ยังไม่คลอด ม้ามมีหน้าที่หลักในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และหลังจากคลอด หน้าที่นี้จะเป็นหน้าที่ของไขกระดูกแทน 
แต่ถ้าไขกระดูกทำงานได้น้อยลงเนื่องจากโรคบางอย่าง ม้ามจะทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงอีกครั้งหนึ่ง

โรคของม้าม
อาการหลายชนิดมีผลต่อม้าม เช่น Splenomegaly (อาการม้ามโตผิดปกติ) อาการนี้เป็นอาการที่บอกถึงการมีแบคทีเรีย ปรสิต หรือไวรัสติดเชื้อในร่างกาย 
เช่น เชื้อวัณโรค เชื้อมาลาเรีย ข้อต่ออักเสบ ฯลฯ โรคนี้ยังอาจเกิดจากโรคตับแข็งได้, Hypersplenism (อาการม้ามทำงานผิดปกติหรือทำงานมากเกินปกติ) 
โรคนี้ทำให้การกำจัดเซลล์เม็ดเลือดแดงเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจางแทรกซ้อนขึ้นมา นอกจากนี้ ภาวะม้ามเลือดออกอาจชี้ถึงภาวะโลหิตจาง 
และการขาดธาตุเหล็กอีกด้วย และมะเร็งในม้าม

อาการม้ามผิดปกติต่างๆ อาจรักษาโดยการฉายรังสี หรือใช้ยาคอร์ริโคสเตียรอยด์ หรือบางโรคที่ร้ายแรงก็จะทำการผ่าตัดเปลี่ยนม้าม 
ในกรณีที่ม้ามเกิดการแตกหรือฉีกขาด จะทำให้เชื้อโรคในม้ามไหลกลับเข้าสู่กระแสเลือดเกือบทั้งหมด จึงเป็นสาเหตุทำให้ผู้ที่ม้ามแตกหรือฉีกขาดจากอุบัติเหตุเสียชีวิต

ในปัจจุบัน ยังไม่มีม้ามเทียมที่สามารถเปลี่ยนทดแทนเมื่อม้ามในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สร้างพลังชีวิต ทีได้จากความคิด เพียงน้อยนิด ที่ทีมงานอยากมอบให้

มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ มีความวิเศษ สามารถให้กำลังใจตัวเองได้ 
แม้ไม่มีเพื่อนเลยก็ตาม แต่มนุษย์ก็ขาดอาหารไม่ได้ อาหารของมนุษย์
 มี2อย่าง ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ได้ 
อย่างแรกคืออาหารทางใจ"กำลังใจ" อีกอย่างคืออาหารทางกาย 
ที่บำรุงร่างกายให้พ้นจากการเจ็บป่วย รวมกันเรียกว่าปลอดภัยทั้งกายทั้งใจ