ตับ เป็นอวัยวะที่พบในสัตว์ชนิดต่างๆ และมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึม รวมทั้งมีหน้าที่หลายประการในร่างกาย เช่นการสะสมไกลโคเจน การสังเคราะห์โปรตีนในพลาสมา การกำจัดพิษของยา และปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆมากมาย ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยตับจะผลิตน้ำดี ซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการย่อยอาหาร ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่าhepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ
กายวิภาคศาสตร์[แก้]
ตับของผู้ใหญ่ปกติจะมีน้ำหนักราว 1.3 ถึง 3.0 กิโลกรัม และมีจะลักษณะนุ่ม มีสีชมพูอมน้ำตาล ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากผิวหนัง และเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ตับจะวางตัวอยู่ทางด้านขวาบนของช่องท้อง และอยู่ใต้กะบังลม นอกจากนี้บางส่วนของตับยังวางอยู่บนกระเพาะอาหาร ปลายทางด้านซ้ายสุดของตับจะชี้ไปทางม้าม และบนพื้นผิวด้านหน้าของตับยังมีถุงน้ำดีวางตัวอยู่อีกด้วย
พื้นผิวของตับเกือบทั้งหมดจะถูกคลุมด้วยเยื่อบุช่องท้อง ซึ่งเป็นเยื่อบุสองชั้นที่คลุมอยู่บนอวัยวะต่างๆทางด้านหน้าของช่องท้องเพื่อลดการเสียดสีระหว่างอวัยวะ นอกจากนี้จะพบว่าที่บริเวณตับ จะมีการพับของเยื่อบุช่องท้องเข้ามาภายในตับ และแบ่งตัวออกเป็นสองพูใหญ่ๆ เยื่อดังกล่าวนี้เรียกว่า ฟอลซิฟอร์ม ลิกาเมนต์ (falciform ligament) ซึ่งจะยึดตับไว้กับผนังช่องท้องทางด้านหน้า เมื่อมองจากทางด้านบนจะพบว่า ฟอลซิฟอร์ม ลิกาเมนต์นี้จะแยกตัวออกเป็นไทรแองกูลาร์ ลิกาเมนต์ ทั้งด้านซ้ายและขวา เพื่อยึดตับไว้กับกะบังลม
กลีบของตับ[แก้]
ในทางมหกายวิภาคศาสตร์ จะแบ่งตับออกเป็นสี่กลีบ (lobes) ตามลักษณะที่ปรากฏบนพื้นผิว โดยเมื่อมองตับจากทางด้านหน้า จะเห็นว่าตับถูกแบ่งออกเป็นกลีบซ้าย (left lobe) และกลีบขวา (right lobe) หากมองตับจากทางด้านหลัง จะพบว่ามีอีกสองกลีบ คือ กลีบคอเดต (caudate lobe) ซึ่งอยู่ทางด้านบน และกลีบควอเดรต (quadrate lobe) ซึ่งอยู่ทางด้านล่าง ซึ่งทั้งสองกลีบดังกล่าวนี้จะแบ่งแยกออกจากกันโดยร่องแนวขวาง (transverse fissure) หรือเรียกว่า พอร์ตา เฮปาติส (porta hepatis) ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นทางผ่านของหลอดเลือดและท่อน้ำดีของตับ ทั้งกลีบคอเดตและกลีบควอเดรตนี้จะถูกแบ่งออกจากกลีบซ้าย โดยแนวของลิกาเมนตุม วีโนซุม (ligamentum venosum) และลิกาเมนตุม เทเรส เฮปาติส(ligamentum teres hepatis) ซึ่งเป็นโครงสร้างของหลอดเลือดตับในระยะเอมบริโอ ส่วนทางขวาจะมีรอยบุ๋มที่มีหลอดเลือดดำอินฟีเรียร์ เวนาคาวา(inferior vena cava) พาดผ่าน และแบ่งกลีบขวาออกจากกลีบคอเดตและกลีบควอเดรต
การไหลเวียนของเลือดในตับ[แก้]
ตับจะได้รับเลือดที่มีออกซิเจนสูงมาทางหลอดเลือดแดงตับ (hepatic artery) นอกจากนี้ยังมีเลือดที่นำมาจากลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และตับอ่อนผ่านทางหลอดเลือดดำซุพีเรียมีเซนเทอริค (superior mesenteric vein) และเลือดจากม้ามผ่านทางหลอดเลือดดำม้าม (splenic vein) ซึ่งหลอดเลือดดำทั้งสองจะรวมกันเป็นหลอดเลือดดำพอร์ทัล (portal vein) แล้วเข้าสู่ตับเพื่อนำสารอาหารและสารเคมีอื่นๆที่ได้จากการดูดซึมจากทางเดินอาหาร และผลผลิตจากการทำลายเม็ดเลือดแดงจากม้าม เข้าสู่กระบวนการต่างๆภายในเซลล์ตับต่อไป สำหรับหลอดเลือดดำที่นำเลือดออกจากตับ คือหลอดเลือดดำตับ (hepatic vein) ซึ่งจะเทเลือดเข้าสู่หลอดเลือดดำอินฟีเรียร์ เวนาคาวา ต่อไป
ระบบน้ำดีภายในตับ[แก้]
น้ำดีจะถูกสร้างขึ้นจากเซลล์ตับแต่ละเซลล์และส่งออกมาจากท่อน้ำดีย่อย (bile canaliculi) ซึ่งจากนั้นท่อน้ำดีย่อยแต่ละท่อจะรวมกันเป็นท่อน้ำดีตับ (hepatic bile ducts) ซึ่งมีทั้งซ้ายและขวา แล้วจึงรวมกันเป็นท่อน้ำดีใหญ่ในตับ (common hepatic bile duct) ก่อนจะส่งไปทางท่อน้ำดีใหญ่ (common bile duct) ซึ่งน้ำดีอาจถูกปล่อยออกสู่ลำไส้เล็กตอนต้น หรือเก็บสะสมไว้ในถุงน้ำดี
สรีรวิทยาของตับ[แก้]
หน้าที่ต่างๆของตับจะอาศัยการทำงานของเซลล์ตับ ซึ่งมีหน้าที่หลากหลาย ดังนี้
- ผลิตน้ำดี ซึ่งจัดเป็นหน้าที่หลักของเซลล์ตับ
- ควบคุมเมแทบอลิซึมของสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ได้แก่
- การสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคสจากกรดอะมิโน กรดแลคติค หรือกลีเซอรอล
- การสลายโมเลกุลของไกลโคเจน เพื่อผลิตน้ำตาลกลูโคสออกสู่กระแสเลือด
- การสร้างไกลโคเจนจากน้ำตาลกลูโคส
- ควบคุมเมแทบอลิซึมของไขมัน โดยเฉพาะการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
- ผลิตสารที่เป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (clotting factors)
- แปรรูปโมเลกุลของฮีโมโกลบินที่ได้จากการทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุจากม้าม เพื่อสร้างเป็นรงควัตถุน้ำดี (bile pigments) เช่น บิลิรูบิน (bilirubin) และบิลิเวอดิน (bilivedin)
- แปรสภาพสารพิษและยาต่างๆให้อยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถขับถ่ายออกไปได้ กระบวนการนี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมของยา
- เปลี่ยนแอมโมเนียที่เกิดจากการสลายโปรตีนให้เป็นยูเรีย เพื่อนำออกทางปัสสาวะ
- เก็บสะสมไวตามินและแร่ธาตุ เช่น ไวตามิน B12 เหล็ก และทองแดง
- ในระยะตัวอ่อนช่วงสามเดือนแรก ตับเป็นแหล่งสำหรับการผลิตเม็ดเลือดแดงที่สำคัญ จนกว่าจะถึงสัปดาห์ที่ 32 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งการผลิตเม็ดเลือดจะอยู่ในไขกระดูก
โรคของตับ[แก้]
โรคที่เป็นความผิดปกติของตับมีอยู่หลายโรคด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นโรคทางพันธุกรรม หรือโรคที่เกิดจากการได้รับเชื้อหรือสารพิษต่างๆ ตัวอย่างของโรคที่เกี่ยวกับตับ ได้แก่
- ตับอักเสบ (Hepatitis) มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส นอกจากนี้อาจเกิดจากสารพิษ กรรมพันธุ์ หรือภาวะภูมิแพ้ตนเอง
- ตับแข็ง (Cirrhosis) เกิดจากการสะสมของเนื้อเยื่อแข็งที่ทดแทนเซลล์ตับที่ตายไป โดยมักเกิดจากเชื้อไวรัส ภาวะพิษสุราเรื้อรัง หรือการได้รับสารพิษต่างๆ
- ฮีโมโครมาโทซิส (Hemochromatosis) เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่เกิดจากการสะสมของเหล็กในกระแสเลือด จนทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ตับ
- ท่อน้ำดีตีบตัน (Biliary atresia)
- บัดด์ ไคอารี่ ซินโดรม (Budd-Chiari syndrome) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดดำตับ
- กิลเบิร์ต ซินโดรม (Gilbert's syndrome) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้เกิดความผิดปกติในการสังเคราะห์บิลิรูบิน
อาการเบื้องต้นของโรคตับ คือดีซ่าน (jaundice) ซึ่งเป็นภาวะที่มีบิลิรูบินจำนวนมากในกระแสเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากเซลล์ตับไม่สามารถแปรรูปบิริรูบินไปเป็นสารอื่นเพื่อส่งออกทางน้ำดีได้ ทั้งนี้เป็นเพราะเซลล์ตับเกิดความผิดปกติหรือตายนั่นเอง
การดูแลรักษาตับ[แก้]
- ไม่ดื่มสุรา เบียร์ หรือของมึนเมา
- ไม่ควรรับประทานยาพร่ำเพรื่อ เพราะสารเคมีจะทำลายตับได้
- ระวังอย่าสูดดมพวกละอองสเปรย์ต่างๆ
- สวมถุงมือ ใส่เสื้อแขนยาว สวมหมวกและหน้ากากทุกครั้งที่พ่นหรือผสมยาฆ่าแมลง
- ไม่สำส่อนทางเพศ
- ไม่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
- ไม่รับประทานอาหารดิบหรือสุกๆ ดิบๆ
- รับประทานอาหารที่สะอาดและน้ำต้มสุก มีภาชนะปิดอย่างมิดชิด
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
Jammin' Jars Casino: Play online slots FREE | jtmhub.com
ตอบลบPlay online 포항 출장샵 slot games for fun or for real money at 서울특별 출장샵 Jammin Jars 광양 출장마사지 Casino! We have over 250+ slot games available for 목포 출장안마 you to 과천 출장마사지 choose from.